ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เสวยสุขเวทนาอยู่
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
หรือเสวยทุกขเวทนา
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนา
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
หรือเสวยสุขเวทนามีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
...ภายในบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
...ภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
...ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในเวทนาบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือ…
ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง
อีกอย่างหนึ่ง
สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า...
เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
อ้างอิง : มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๒๘๘ หน้า ๒๒๑-๒๒๒
ภาพประกอบ : กัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุ
เชื่อกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตร ณ ที่นี้