มหาสติปัฏฐานสูตร - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า


ภิกษุในธรรมวินัยนี้

จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ
...ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ

จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ
...ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ

จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ
...ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่

จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน  

จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต  

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
...ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
...ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า 

จิตเป็นสมาธิ
...ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
หรือจิตไม่เป็นสมาธิ
...ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ

จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น


ดังพรรณนามาฉะนี้  

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ภายในบ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิต ภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิต
...ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในจิตบ้าง     
พิจารณาเห็นธรรม
คือ ทั้งความเกิดขึ้น
...ทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง 

อีกอย่างหนึ่ง

สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า...
จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่


 

 

 

อ้างอิง : มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๒๘๙ หน้า ๒๒๒ 

 

ภาพประกอบ : กัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุ
เชื่อกันว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตร ณ ที่นี้