ฉฉักกสูตร - ธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด



สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย”

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป”

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า

“ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”


ธรรมหมวดหก ๖ หมวด

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

“พวกเธอพึงทราบ
อายตนะภายใน ๖
อายตนะภายนอก ๖
หมวดวิญญาณ ๖
หมวดผัสสะ ๖
หมวดเวทนา ๖
หมวดตัณหา ๖

อายตนะภายใน ๖

ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่

อายตนะคือ จักษุ
อายตนะคือ โสตะ
อายตนะคือ ฆานะ
อายตนะคือ ชิวหา
อายตนะคือ กาย
อายตนะคือ มโน

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว

นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๑

อายตนะภายนอก ๖

ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่

อายตนะคือ รูป
อายตนะคือ เสียง
อายตนะคือ กลิ่น
อายตนะคือ รส
อายตนะคือ โผฏฐัพพะ
อายตนะคือ ธรรมารมณ์

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว

นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๒

วิญญาณ ๖

ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ
อาศัยโสตะและเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ
อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ
อาศัยชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ
อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ
อาศัยมโน และธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว

นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๓

ผัสสะ ๖

ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

บุคคลอาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ

อาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ

อาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ

อาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ

อาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ

อาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ เราอาศัยผัสสะดังนี้ กล่าวแล้ว

นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๔

เวทนา ๖

ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ เราอาศัยเวทนาดังนี้ กล่าวแล้ว

นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๕

ตัณหา ๖

ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

อาศัยชิวหาและลิ้นเกิดชิวหาวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ เราอาศัยตัณหาดังนี้ กล่าวแล้ว

นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖


ธรรมเป็นอนัตตา

จักษุ-รูป-จักษุวิญญาณ-จักษุสัมผัส-เวทนา-ตัณหา

ผู้ใดกล่าวว่า จักษุเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
จักษุย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า จักษุเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

จักษุจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
รูปย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
จักษุวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
จักษุสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
เวทนาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา

โสตะ-เสียง-โสตะวิญญาณ-โสตะสัมผัส-เวทนา-ตัณหา

ผู้ใดกล่าวว่า โสตะเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
โสตะย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าโสตะเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

โสตะจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า เสียงเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
เสียงย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า เสียงเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

โสตะจึงเป็นอนัตตา เสียงจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า โสตะวิญญาณเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
โสตะวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าโสตะวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

โสตะจึงเป็นอนัตตา เสียงจึงเป็นอนัตตา โสตะวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า โสตะสัมผัสเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
โสตะสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าโสตะสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

โสตะจึงเป็นอนัตตา เสียงจึงเป็นอนัตตา โสตะวิญญาณจึงเป็นอนัตตา โสตะสัมผัสจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
เวทนาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

โสตะจึงเป็นอนัตตา เสียงจึงเป็นอนัตตา โสตะวิญญาณจึงเป็นอนัตตา โสตะสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

โสตะจึงเป็นอนัตตา เสียงจึงเป็นอนัตตา โสตะวิญญาณจึงเป็นอนัตตา โสตะสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา

ฆานะ-กลิ่น-ฆานะวิญญาณ-ฆานะสัมผัส-เวทนา-ตัณหา

ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ฆานะย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าฆานะเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

ฆานะจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า กลิ่นเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
กลิ่นย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า กลิ่นเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

ฆานะจึงเป็นอนัตตา กลิ่นจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะวิญญาณเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ฆานะวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าฆานะวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

ฆานะจึงเป็นอนัตตา กลิ่นจึงเป็นอนัตตา ฆานะวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะสัมผัสเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ฆานะสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าฆานะสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

ฆานะจึงเป็นอนัตตา กลิ่นจึงเป็นอนัตตา ฆานะวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ฆานะสัมผัสจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
เวทนาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

ฆานะจึงเป็นอนัตตา กลิ่นจึงเป็นอนัตตา ฆานะวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ฆานะสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

ฆานะจึงเป็นอนัตตา กลิ่นจึงเป็นอนัตตา ฆานะวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ฆานะสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา

ชิวหา-รส-ชิวหาวิญญาณ-ชิวหาสัมผัส-เวทนา-ตัณหา

ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ชิวหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าชิวหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

ชิวหาจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า รสเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
รสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า รสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

ชิวหาจึงเป็นอนัตตา รสจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาวิญญาณเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ชิวหาวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าชิวหาวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

ชิวหาจึงเป็นอนัตตา รสจึงเป็นอนัตตา ชิวหาวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาสัมผัสเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ชิวหาสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าชิวหาสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

ชิวหาจึงเป็นอนัตตา รสจึงเป็นอนัตตา ชิวหาวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ชิวหาสัมผัสจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
เวทนาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

ชิวหาจึงเป็นอนัตตา รสจึงเป็นอนัตตา ชิวหาวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ชิวหาสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

ชิวหาจึงเป็นอนัตตา รสจึงเป็นอนัตตา ชิวหาวิญญาณจึงเป็นอนัตตา ชิวหาสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา

กาย-โผฏฐัพพะ-กายวิญญาณ-กายสัมผัส-เวทนา-ตัณหา

ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
กายย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่ากายเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

กายจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า โผฏฐัพพะเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
โผฏฐัพพะย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า โผฏฐัพพะเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

กายจึงเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า กายวิญญาณเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
กายวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่ากายวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

กายจึงเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะจึงเป็นอนัตตา กายวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า กายสัมผัสเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
กายสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่ากายสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

กายจึงเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะจึงเป็นอนัตตา กายวิญญาณจึงเป็นอนัตตา กายสัมผัสจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
เวทนาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

กายจึงเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะจึงเป็นอนัตตา กายวิญญาณจึงเป็นอนัตตา กายสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

กายจึงเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะจึงเป็นอนัตตา กายวิญญาณจึงเป็นอนัตตา กายสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา

มโน-ธรรมารมณ์-มโนวิญญาณ-มโนสัมผัส-เวทนา-ตัณหา

ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
มโนย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

มโนจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ธรรมารมณ์ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
มโนวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
มโนสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
เวทนาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา
คำของผู้นั้นไม่ควร
ตัณหาย่อมปรากฏ แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อมสิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้

มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา


ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ ดังต่อไปนี้แล

บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นรูปว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

เล็งเห็นโสตะว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นเสียงว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นโสตะวิญญาณว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นโสตะสัมผัสว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

เล็งเห็นฆานะว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นกลิ่นว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นฆานะวิญญาณว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นฆานะสัมผัสว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

เล็งเห็นชิวหาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นรสว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นชิวหาวิญญาณว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นชิวหาสัมผัสว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

เล็งเห็นกายว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นโผฏฐัพพว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นกายวิญญาณว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นกายสัมผัสว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

เล็งเห็นมโนว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ ดังต่อไปนี้แล

บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นรูปว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

เล็งเห็นโสตะว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นเสียงว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นโสตะวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นโสตะสัมผัสว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

เล็งเห็นฆานะว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นกลิ่นว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นฆานะวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นฆานะสัมผัสว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

เล็งเห็นชิวหาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นรสว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นชิวหาวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นชิวหาสัมผัสว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

เล็งเห็นกายว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นโผฏฐัพพว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นกายวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นกายสัมผัสว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

เล็งเห็นมโนว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นเวทนาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
เล็งเห็นตัณหาว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา


ผู้ติดอยู่ในเวทนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลอาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์
เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์ มิใช่สุขบ้าง

เขาอัน สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดติด จึงมี ราคานุสัย นอนเนื่องอยู่

เขาอัน ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง จึงมี ปฏิฆานุสัย นอนเนื่องอยู่  

เขาอัน อทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้นตามความเป็นจริง จึงมี อวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

ผู้ไม่ติดอยู่ในเวทนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลอาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ...

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์ มิใช่สุขบ้าง

เขาอัน สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่ชมเชย ไม่ยึดติด จึงไม่มี ราคานุสัย นอนเนื่องอยู่

เขาอัน ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลง จึงไม่มี ปฏิฆานุสัย นอนเนื่องอยู่

เขาอัน อทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้นตามความเป็นจริง จึงไม่มี อวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ทำวิชชาให้เกิดเพราะละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะวิญญาณ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะวิญญาณ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา


เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล 

 

 

อ้างอิง : ฉฉักกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อ ๘๑๐-๘๒๔ หน้า ๓๘๖-๓๙๓

 

ภาพประกอบ 
Dambulla Cave Temple,  www.theuniquetravel.co.uk