46-25 พระเรวตะสังคายนาพระวินัยครั้งที่ ๓ ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี



 วาลิการามในปัจจุบัน

โดยสมัยนั้นแล พระอชิตะมีพรรษาได้ ๑๐ เป็นผู้สวดปาติโมกข์แก่สงฆ์ ครั้งนั้น สงฆ์สมมติท่านพระอชิตะให้เป็นผู้ปูอาสนะเพื่อพระเถระทั้งหลาย

พระเถระทั้งหลายคิดกันว่า พวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ ณ ที่ไหนหนอ แล้วคิดต่อไปว่า

"วาลิการามนี้แล เป็นรมณียสถาน มีเสียงน้อย ไม่มีเสียงเอ็ดอึง ถ้าไฉนพวกเราจะพึงระงับอธิกรณ์นี้ ณ วาลิการาม"

ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายที่ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ได้พากันไปวาลิการาม

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะท่านพระสัพพกามี"

ท่านพระสัพพกามีประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

"ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันพระเรวตะถามพระวินัยแล้ว จะพึงแก้"

ถามและแก้วัตถุ ๑๐ ประการ

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะถามท่านพระสัพพกามีว่า

"สิงคิโลณกัปปะ ควรหรือขอรับ"

พระสัพพกามีย้อนถามว่า

"สิงคิโลณกัปปะนั้น คืออะไรขอรับ"

"การเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่า จักปรุงในอาหารที่จืดฉัน ควรหรือไม่ขอรับ"

"ไม่ควรขอรับ"

"ทรงห้ามไว้ที่ไหน"

"ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์"

"ต้องอาบัติอะไร"

"ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะอาหารที่ทำการสั่งสม"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๑ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน"

"ทวังคุลกัปปะ ควรหรือไม่ขอรับ"

"ทวังคุลกัปปะนั้น คืออะไรขอรับ"

"การฉันโภชนะในวิกาล เมื่อตะวันบ่ายล่วงแล้วสององคุลี ควรหรือไม่ขอรับ"

"ไม่ควรขอรับ"

"ทรงห้ามไว้ที่ไหน"

"ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์"

"ต้องอาบัติอะไร"

"ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๒ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๒ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน"

"คามันตรกัปปะ ควรหรือไม่ขอรับ"

"คามันตรกัปปะนั้น คืออะไรขอรับ"

"ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว คิดว่า จักเข้าละแวกบ้านในบัดนี้ ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ"

"ไม่ควรขอรับ"

"ทรงห้ามไว้ที่ไหน"

"ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์"

"ต้องอาบัติอะไร"

"ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๓ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๓ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน"

"อาวาสกัปปะ ควรหรือไม่ขอรับ"

"อาวาสกัปปะนั้น คืออะไรขอรับ"

"อาวาสหลายแห่ง มีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่างกัน ควรหรือไม่ขอรับ"

"ไม่ควรขอรับ"

"ทรงห้ามไว้ที่ไหน"

"ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์อุโบสถสังยุต"

"ต้องอาบัติอะไร""

"ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะละเมิดวินัย"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๔ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๔ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน"

"อนุมติกัปปะ ควรหรือไม่ขอรับ"

"อนุมติกัปปะนั้น คืออะไร"

"สงฆ์เป็นวรรคทำกรรม ด้วยตั้งใจว่า จักให้ภิกษุที่มาแล้วอนุมัติ ควรหรือไม่ขอรับ"

"ไม่ควรขอรับ"

"ทรงห้ามไว้ที่ไหน"

"ในเมืองจัมเปยยกะ ปรากฏในเรื่องวินัย"

"ต้องอาบัติอะไร"

"ต้องอาบัติทุกกฏ ในเพราะละเมิดวินัย"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๕ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๕ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน"

"อาจิณณกัปปะ ควรหรือไม่ขอรับ"

"อาจิณณกัปปะนั้น คืออะไรขอรับ"

"การประพฤติวัตรด้วยเข้าใจว่า นี้พระอุปัชฌายะของเราเคยประพฤติมา นี้พระอาจารย์ของเราเคยประพฤติมา ควรหรือไม่ขอรับ"

"อาจิณณกัปปะบางอย่างควร บางอย่างไม่ควรขอรับ"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๖ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๖ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน"

"อมถิตกัปปะ ควรหรือไม่ขอรับ"

"อมถิตกัปปะนั้น คืออะไรขอรับ"

"นมสดละความเป็นนมสดแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุ ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ขอรับ"

"ไม่ควรขอรับ"

"ทรงห้ามไว้ที่ไหน"

"ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์"

"ต้องอาบัติอะไร"

"ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะอันเป็นอนติริตตะ"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๗ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๗ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๗ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน"

"การดื่มชโลคิ ควรหรือไม่ขอรับ"

"ชโลคินั้น คืออะไรขอรับ"

"การดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ควรหรือไม่ขอรับ"

"ไม่ควรขอรับ"

"ทรงห้ามไว้ที่ไหน"

"ในเมืองโกสัมพี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์"

"ต้องอาบัติอะไร"

"ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๘ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๘ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน"

"ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือไม่ขอรับ"

"ไม่ควรขอรับ"

"ทรงห้ามไว้ที่ไหน"

"ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์"

"ต้องอาบัติอะไร"

"ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องตัดเสีย"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๙ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๙ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน"

"ทองและเงิน ควรหรือไม่ขอรับ"

"ไม่ควรขอรับ"

"ทรงห้ามไว้ที่ไหน"

"ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์"

"ต้องอาบัติอะไร"

"ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรับทองและเงิน"

"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑๐ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๑๐ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุ ๑๐ ประการนี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุ ๑๐ ประการนี้ จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์"

พระสัพพกามีกล่าวว่า

"ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นั่นสงฆ์ชำระแล้ว สงบระงับเรียบร้อยดีแล้ว อนึ่ง ท่านพึงถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะผมแม้ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นรู้ทั่วกัน"

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะท่านพระสัพพกามี แม้ในท่ามกลางสงฆ์

ท่านพระสัพพกามี อันท่านพระเรวตะถามแล้ว ๆ ได้วิสัชนาแล้ว

ก็ในสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่หย่อน ไม่เกิน เพราะฉะนั้น การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า แจง ๗๐๐ ดังนี้แล

 

 

อ้างอิง : พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ ข้อที่ ๖๕๐-๖๖๓ หน้า ๒๗๔-๒๗๘